วิธีการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า กับ 10 เคล็ดลับน่ารู้

10 เคล็ดลับเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า

วิธีการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า กับ 10 เคล็ดลับน่ารู้

เมื่อพูดถึงวิธีการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า เครื่องออกกำลังกายประเภทคาดิโอ โดยการออกกำลังกายด้วยการวิ่งหรือเดิน ทั้งแบบเดินราบพื้นธรรมดาหรือแบบปรับความชันเสมือนการเดินขึ้นภูเขา ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าหรือวิ่งที่สวนสาธารณะ การวิ่งและการเดินนั้น นอกจากจะทำให้เรามีสุขภาพที่เเข็งแรง เผาผลาญไขมัน อีกทั้งยังส่งผลถึงการทำงานของระบบการหายใจ ระบบหัวใจ และกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

สารบัญ
• ข้อแตกต่างของมอเตอร์
• สายพาน
• ความเร็วของลู่วิ่งไฟฟ้า
• ความชัน
• ระบบลดแรงกระแทก
• หน้าจอและโปรแกรม
• การรองรับน้ำหนัก
• การพับเก็บ
• การรับประกันสินค้าและการบริการหลังการขาย
• การบริการจัดส่ง

North Fitness ขอใช้บทความนี้เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจก่อนการเลือกซื้อของคุณลูกค้า ทุกท่านค่ะ

1. มอเตอร์ ac กับ dc ต่างกันอย่างไร

ลู่วิ่งไฟฟ้าจะมีมอเตอร์ 2 แบบ คือ

1) มอเตอร์แบบ DC เป็นมอเตอร์สำหรับวิ่งเบาๆ ในช่วงเวลาที่ไม่นาน

2) มอเตอร์แบบ AC เป็นมอเตอร์สำหรับผู้ที่ต้องการวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ มีอายุการใช้งานได้นานกว่ามอเตอร์ DC และราคาของมอเตอร์ AC นี้ก็จะมี ราคาที่สูงขึ้นเช่นกัน

มอเตอร์ของลู่วิ่งไฟฟ้ามีหน่วยคือ “แรงม้า” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “Horsepower” ตัวย่อ “HP”

  • มอเตอร์ DC 1.0 HP สำหรับเดินออกกำลังกาย
  • มอเตอร์ DC 2.0 HP สำหรับจ๊อกกิ้ง วิ่งเบาๆ
  • มอเตอร์ DC 3.0 HP ขึ้นไปสำหรับวิ่งเร็ว

2. สายพาน(พื้นที่สำหรับเดินและวิ่ง)

ความกว้าง = ความสบายเพราะยิ่งสายพานกว้างก็จะทำให้การออกกำลังกายสบายยิ่งขึ้น
ความยาว = ความสูงของคนวิ่ง เพราะถ้าผู้วิ่งรูปร่างสูงช่วงก้าวก็จะยาว เพราะฉะนั้นจึงต้องเลือกลู่วิ่งที่มีขนาดสายพานที่ยาวเป็นพิเศษเพื่อกันการวิ่งออกนอกลู่วิ่งไฟฟ้า
** สายพานหรือพื้นที่วิ่ง ต้องสอบถามให้แน่ชัดว่าสายพานหรือพื้นที่วิ่งนั้นไม่นับรวมขนาดของที่พักเท้า ยิ่งสายพานของลู่วิ่งกว้างและยาวเท่าไร ราคาก็จะสูงขึ้น
ดังนั้น ควรเลือกขนาดของสายพานที่เหมาะสมกับร่างกายของผู้วิ่ง อย่าให้แคบหรือมีพื้นที่น้องจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้ตอนออกกำลังกายไม่สนุกรู้สึกอึดอัดได้ค่า

3. ความเร็วของลู่วิ่งไฟฟ้า

ลู่วิ่งไฟฟ้าสำหรับใช้ที่บ้านส่วนใหญ่แล้วจะนิยมที่ความเร็วระหว่าง 8-10 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเร็วระดับหนึ่ง ไม่เร็วและไม่ช้าจนเกินไป

  • ความเร็ว 0-5 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับ เดิน
  • ความเร็ว 6-9 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับ วิ่งเบา ๆ หรือจ็อกกิ้ง
  • ความเร็ว 10-14 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับ วิ่งเร็ว
  • ความเร็ว 15-22 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับ วิ่งเร็วมาก(HIIT Cardio)

4. ความชันของลู่วิ่งไฟฟ้า

ความชันทำให้การออกกำลังกายของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น เปรียบเสมือนการวิ่งขึ้นภูเขา ยิ่งปรับความชันสูงขึ้นมากเท่าไหร่ จะยิ่งเผาผลาญ ไขมัน มากขึ้นเท่านั้น ลู่วิ่งไฟฟ้าสามารถปรับระดับความชันได้ 2 รูปแบบ

1) ความชันแบบ Auto (สั่งการด้วยปุ่ม) (ราคาจะสูงกว่าแบบ Manual)

2) ความชันแบบ Manual (ปรับด้วยตัวผู้วิ่งเอง)

* ข้อสังเกตุของความชันแบบ Manual ส่วนท้ายของเครื่องจะมีที่ปรับระดับส่วนมากจะมี 3 รู คือ ปรับได้ด้วยมือ 3 ระดับเท่านั้น

** ลู่วิ่งไฟฟ้าบางรุ่นจะไม่สามารถปรับความชันได้

5. ระบบลดแรงกระแทก

ระบบลดแรงกระแทกจะติดตั้งอยู่ในส่วนของใต้กระดานของลู่วิ่งไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดแรงกระแทก ลดอัตราการเกิดการบาดเจ็บของข้อเท้าและหัวเข่า
ชนิดของระบบลดแรงกระแทกจะมีอยู่ 3 ชนิด เพิ่มการอธิบายการทำงาน หรือลักษณะของแต่ละระบบทั้งสามระบบด้วยค่า

  1. ระบบลดแรงกระแทกแบบโช้ค – ควบคุมการยุบตัว และการยืดตัวของสปริง ลดแรงกระแทกในขณะวิ่ง
  2. ระบบลดแรงกระแทกแบบ Air Cushion – ระบบลดแรงกระแทกในรูปแบบอากาศที่อัดอยู่ภายในยางใต้สายพาน ความรู้สึกเสมือนรองเท้ากีฬา ช่วยป้องกันการบาดเจ็บของข้อเท้าและหัวเข่าได้เป็นอย่างดี
  3. ระบบลดแรงกระแทกแบบ Soft Cushion – ระบบลดแรงกระแทกในรูปแบบยาง มีความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการคืนตัวสูง

* บางรุ่นมีระบบลดแรงกระแทก แต่ไม่สามารถมองเห็นจากด้านนอก เนื่องจากการออกแบบที่แตกต่างกันของแต่ละรุ่น

6. หน้าจอและโปรแกรม

Function แสดงรายละเอียดพื้นฐานที่จะต้องมีในการออกกำลังกายทั้งหมด คือ

  • ค่าความเร็ว
  • ค่าความชัน
  • แคลอรี่ที่เผาผลาญ
  • ระยะทางที่วิ่ง
  • การเต้นของหัวใจ
  • เวลาในการวิ่ง

* บางรุ่นจะมีลำโพงสำหรับฟังเพลง Mp3 หรือ บางรุ่นหน้าจอสามารถสัมผัสและเชื่อมต่อกับ Wi-Fi เพื่อใช้งาน Internet ได้เลย

** บางรุ่นจะมีโปรแกรมในการวิ่ง คือ ระบบอัตโนมัติที่จะปรับความเร็วและความชันให้ตามระยะเวลาที่เลือก โดยที่จะคล้ายกับภารกิจที่ต้องทำในแต่ละช่วงเวลาของการวิ่ง เช่น 5 นาทีวิ่งเร็ว 15 นาทีวิ่งเร็วมาก ซึ่งจะเพิ่มความสนุกและท้าทายในการวิ่งมากยิ่งขึ้น

7.การรองรับน้ำหนัก

ลู่วิ่งไฟฟ้าแต่ละรุ่นจะสามารถรับน้ำหนักของผู้วิ่งได้ต่างกัน จึงต้องคำนวณจากหลายปัจจัย เช่น น้ำหนักของผู้วิ่ง น้ำหนักของเครื่องและขนาดของมอเตอร์

  1. มอเตอร์ 1-2.5 HP สำหรับผู้วิ่งที่มีน้ำหนัก 50-80 กิโลกรัม
  2. มอเตอร์ 3.0 HP ขึ้นไป สำหรับผู้วิ่งที่มีน้ำหนัก 80-100 กิโลกรัม
  3. มอเตอร์ 4.0 HP ขึ้นไป สำหรับผู้วิ่งที่มีน้ำหนัก 100-150 กิโลกรัม

* ถ้าหากน้ำหนักผู้วิ่งมากกว่าน้ำหนักที่มอเตอร์รองรับ ลู่วิ่งไฟฟ้าจะทำงานหนักและชำรุดได้

** ควรจะเผื่อน้ำหนักเพื่อรองรับการกระแทกประมาณ 15-20 กิโลกรัม

*** อายุการใช้งานของมอเตอร์ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้วิ่งด้วย หากเลือกมอเตอร์ไม่เหมาะสมกับน้ำหนักลู่วิ่ง แล้วมอเตอร์รับไม่ไหว จะทำให้ต้องเปลี่ยนมอเตอร์บ่อยได้ค่า

8. การพับเก็บ

ลู่วิ่งไฟฟ้ามีทั้งแบบที่สามารถพับเก็บได้(การพับเก็บของแต่ละรุ่นจะไม่เหมือนกันทั้งหมด)และแบบที่ไม่สามารถพับเก็บได้ส่วนใหญ่ จะเป็นรุ่นที่มีขนาดใหญ่

ระบบพับเก็บจะมีอยู่ทั้งหมด 2 รูปแบบ คือ

  • ระบบสลักล๊อค ยกส่วนท้ายของลู่วิ่งขึ้น จากนั้นใช้สลักยึดตัวลู่วิ่ง ระบบนี้จะเหมาะกับลู่วิ่งที่มีขนาดใหญ่มาก เนื่องจากต้องใช้แรงในการยก และบางรุ่นอาจจะไม่สามารถพับเก็บเป็นแนวตั้งได้
  • ระบบไฮดรอลิค จะเป็นระบบไฮดรอลิคที่ช่วยในการพยุงน้ำหนักของลู่วิ่งในการขึ้นและลง ช่วยลดการใช้แรงในการยกตัวลู่วิ่ง

9. การรับประกันสินค้าและการบริการหลังการขาย

สินค้าจะมีการรับประกันที่แตกต่างกันไป เช่น ลู่วิ่งไฟฟ้า จะมีประกันมอเตอร์ไฟฟ้า 5 ปี ประกันสินค้า 1 ปี

** ผู้วิ่งควรสอบถามเรื่องการรับประกันและขั้นตอนการดูแลลู่วิ่งไฟฟ้า ระยะเวลาที่ใช้ในการบริการซ่อม อะไหล่ที่มีสำรอง ค่าใช้จ่ายในการบริการต่างๆ สามารถขอคืนสินค้าได้หรือไม่

คำเตือน บางร้านและบางรุ่นอาจจะไม่มีบริการหลังการขาย ควรสอบถามทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ

10. การบริการจัดส่ง

คนส่วนใหญ่จะยังไม่ทราบว่าลู่วิ่งไฟฟ้าบางรุ่น(ขนาดเล็ก-ขนาดกลาง) สามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเองและใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากประกอบใส่กล่องสำเร็จมาแล้ว การจัดส่งสินค้าของแต่ละร้านจะแตกต่างกันไป ผู้วิ่งควรสอบถามให้แน่ชัดว่า มีบริการจัดส่งและติดตั้งให้หรือไม่ มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งไหม ส่งสินค้าจากที่ไหน ใช้เวลาในการจัดส่งกี่วัน และแนะนำวิธีการใช้งานด้วยหรือไม่ ฯลฯ

สรุป

10 วิธีการง่ายๆ สำหรับการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า ไม่ใช่เพียงแต่คุณลูกค้าจะได้ ลู่วิ่งไฟฟ้า ราคา ที่เหมาะสมเพียงอย่างเดียวนะคะ ยังช่วยในการประเมินค่าใช้จ่าย ความคุ้มค่าของราคาในงบที่ตั้ง และที่สำคัญได้ทั้ง “ความสุข” และ “สุขภาพที่ดี” ด้วยค่ะ พบกันใหม่ในบทความหน้า เรื่องวิธีการเลือกซื้อเครื่องออกกำลังกาย แต่จะเป็นประเภทอะไร แอดมินขออุบไว้ก่อนะคะ แล้วพบกันค่า

 

7 คำถามยอดฮิตกับ North Fitness 

      northfitness instagram

สนใจสินค้า สอบถามข้อมูลตัวแทนจำหน่าย NorthFitness  ติดตามข้อมูลข่าวสาร สาระดีๆ หรือ ต้องการเปิดธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์ออกกำลังกายต่างๆ คลิกด้านล่างได้เลยนะคะ

เรื่องอื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ

9 เคล็ดลับน่ารู้ !! วิธีการเลือกซื้อเครื่องเดินวงรี

สำหรับการเลือกซื้อเครื่องเดินวงรีที่เหมาะสมเพียงอย่างเดียวนะคะ ยังสามารถช่วยทั้งในการประเมินค่าใช้จ่าย ความคุ้มค่าของราคาในงบประมาณที่ตั้งไว้ และที่สำคัญที่สุด

อ่านต่อ »

7 เคล็ดลับน่ารู้ ก่อนเลือกซื้อจักรยานออกกำลังกาย

ความเข้าใจก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อจักรยานออกกำลังกาย หากคุณอ่านบทความนี้จบแล้ว และยังมีข้อสงสัยอยู่ North Fitness ยินดีให้คำแนะนำเพิ่มเติมค่ะ

อ่านต่อ »